วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีแนวคิดของธอร์นไดค์

ธอร์นไดค์ (Edward L. Thorndike.1874-1949)
               นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวอเมริกาผู้ให้กำเนิดทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ ที่เชื่อในเรื่องของทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theory) ธอร์นไดค์ ได้ศึกษาเรื่อง การเรียนรู้ของสัตว์ และต่อมาได้กลายมาเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ทั่วไปโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์นั้น เป็นที่รู้จักกันดีในนามทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยง ในเรื่องนี้ นอกจากธอร์นไดค์จะได้ย้ำในเรื่องการฝึกหัดดหรือการกระทำซ้ำแล้ว เขายังให้ความสำคัญของการให้รางวัลหรือการลงโทษ ความสำเร็จหรือความผิดหวังและความพอใจหรือความไม่พอใจแก่ผู้เรียนอย่างทัดเทียมกันด้วย  ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เน้นที่ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) กับการตอบสนอง (Response) ที่ชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ด้วยการที่มนุษย์หรือสัตว์ได้เลือกเอาปฏิกิริยาตอบสนองที่ถูกต้องนั้นมาเชื่อมต่อเข้ากับสิ่งเร้าอย่างเหมาะสม หรือการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ โดยการสร้างสิ่งเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  เรียกทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ว่า ทฤษฎีเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับตอบสนอง (S-R Bond Theory) หรือทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionisms Theory) จากการทดลองและแนวความคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ ดังกล่าวมาข้างต้น เขาได้เสนอกฎการเรียนรู้ที่สำคัญขึ้นมา 3 กฎ อันถือว่าเป็นหลักการเบื้องต้นที่นำไปสู่เทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนกฎทั้ง 3 ได้แก่
            1. กฎแห่งการฝึกหัดหรือการกระทำซ้ำ (The Law of Exercise or Repetition) ชี้ให้เห็นว่า การกระทำซ้ำหรือการฝึกหัดนี้ หากได้ทำบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ จะทำให้การกระทำนั้น ๆ ถูกต้องสมบูรณ์และมั่นคง
            2. กฎแห่งผล (The Law of Effect) เป็นกฎที่มีชื่อเสียงและได้รับความสนใจ
มากที่สุด ใจความสำคัญของกฎนี้ก็คือรางวัลหรือความสมหวัง จะช่วยส่งเสริมการแสดงพฤติกรรม
นั้นมากขึ้น แต่การทำโทษหรือความผิดหวังจะลดอาการแสดงพฤติกรรมนั้นลง
            3. กฎแห่งความพร้อม (The Law of Readiness) กฎนี้หมายถึงความพร้อม
ของร่างกาย ในอันที่จะแสดงพฤติกรรมใด ๆ ออกมา




วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิทยาลัยของฉัน

"สร้างความรู้  มุ่งสู่ความฝัน "  วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
สภาพแวดล้อมโดยรวม :

วิทยาลัยกรุงเทพ สุวรรณภูมิเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่จัดตั้งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการสังคม ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มี คุณธรรม คุณภาพ และทัศนคติที่ดีต่อธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมไทย และประเทศไทย วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิมุ่งมั่นที่จะสร้างความเป็นเลิศทางความคิด (ปัญญาและความดี) ทางวิชาการ (ความรู้ สู่อาชีพ) และการดำรงชีวิต (การปฏิบัติสู่ความสุข) ควบคู่กันไปทั้งสามด้าน เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ด้วยคุณภาพแห่งชีวิต
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้บริหารและคณะอาจารย์ในกลุ่มโรงเรียนเทคโนโลยีกรุงเทพ ซึ่งมีทั้งหมด 6 โรงเรียน ได้แก่
1.
โรงเรียนเทคโนโลยีกรุงเทพ
2.
โรงเรียนเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ
3.
โรงเรียนโปลีเทคนิคระยอง
4.
โรงเรียนเทคโนโลยีบริหารธุรกิจกาญจนบุรี
5.
โรงเรียนเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ
6.
โรงเรียนเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ ชลบุรี
ตระหนักถึงความสำคัญของการให้การศึกษาในระดับอุดมศึกษา และพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศชาติจึงจัดตั้ง วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ เปิดสอนในระดับอุดมศึกษาแห่งใหม่ขึ้นในเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
ที่ตั้ง  489 ถ.ประชาพัฒนา แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520



โทรศัพท์  : 0 2172 9623 - 6โทรสาร   : 0 2172 9620ปณิธาน  : พัฒนาความรู้ คู่คุณธรรม มีความสุข รักความเป็นไทย